โรคหัวใจขาดเลือด ที่อาจเกิดได้เฉียบพลัน

99

โรคหัวใจขาดเลือด คือโรคที่มักจะเกิดขึ้นมาในภาวะเฉียบพลัน โดยสาเหตุจะเกิดขึ้นมาจากหลอดเลือดที่เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการเลี้ยงหัวใจจะมีอาการตีบหรือตัน จึงทำให้เลือดที่ทำหน้าที่ในการเลี้ยงในส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจลดลงเรื่อย ๆ หรือบางทีก็ไม่มีเลือดไม่เลี้ยงเลย จึงเป็นผลให้การทำงานในส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดอาการผิดปกติขึ้นมา

ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยที่มีภาวะที่รุนแรง ก็จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ การที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบหรือตันนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดมาจากสาเหตุที่หลอดเลือดมีการแข็งตัวขึ้นมา เนื่องจากมีไขมันส่วนเกินที่สะสมเป็นจำนวนมากในส่วนของผนังด้านในของหลอดเลือด จึงทำให้ส่วนของการไหลเวียนของเลือดมีการจำกัดที่แคบลง จนทำให้เลือดไหลไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจจึงได้รับปริมาณของเลือดที่น้อยกว่าปกติ โดยที่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้เกร็ดเลือด และลิ่มเลือด มีการอุดตันอีกด้วย

โรคหัวใจขาดเลือดมีอาการอย่างไร

อาการที่สำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด ก็คือ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บ และแน่นตรงบริเวณหน้าอก และจะรู้สึกเจ็บขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ออกแรง หรือยกของหนัก จะดีขึ้นขณะที่ได้พักผ่อน แต่ก็จะรู้สึกแน่น ๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก หรือค่อนมาทางซ้าย โดยจะรู้สึกถึงอาการเจ็บลึก ๆ ผลข้างเคียงก็คือจะหายใจไม่ค่อยสะดวก และจะมีอาการอื่นทับซ้อนขึ้นมา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด บางรายนอกจากแน่นหน้าอกแล้ว ยังอาจเจ็บร้าวไปที่หัวไหล่ แขน หรือ คอ

โรคหัวใจขาดเลือดตรวจอย่างไร ถึงจะทราบว่าเป็นโรคนี้

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งถือเป็นขึ้นตอนที่มีความสำคัญต่อการตรวจโรคหัวใจขาดเลือด เพราะการตรวจในรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะที่ผู้ป่วยไม่ได้ออกแรงนั้น จะทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหลอดเลือดหัวใจตีบน้อย ก็มักจะแสดงผลของคลื่นไฟฟ้าหัวใจออกมาในรูปแบบปกติ ซึ่งอาจจะทำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างแม่นยำ เพราะฉะนั้นแพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในขณะที่ร่างกายกำลังออกกำลัง หรือเรียกว่า “ Exercise Stress Test” ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ต้องการออกซิเจนมากขึ้น

โรคหัวใจขาดเลือดรักษาอย่างไร

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด ในปัจจุบันยังคงมีแค่วิธีการวบคุม และระงับไม่ให้เกิดอาการทับซ้อนเพียงเท่านั้น โดยอาการเบื้องต้นก็จะคือโรคที่เกิดขึ้นมาจากการที่หลอดเลือดที่อยู่ภายในร่างกายไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจในขณะที่กำลังเกิดภาวะหัวใจตีบ หรืออุดตันได้ โดยผู้ป่วยที่เกิดโรคนี้ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างเนื่อง ถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็สามารถควบคุมโรคได้ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นมาได้ สำหรับวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด เพื่อไม้ให้เกิดปัญหาภาวะของโรคดังกล่าวเกิดขึ้นมา โดยเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นจะชะลอการเกิดโรคนี้ก่อนวัยอันควรจะเป็น หรืออาจไม่เป็นเลยก็ได้

สำหรับการรักษาโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และรับการรักษาให้ถูกวิธี โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยา และการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ หรือสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการน่าเป็นห่วง จำเป็นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ เพื่อเป็นการรักษาประคับประคอง การที่จะได้ผลดีมากหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยต้องดำเนินกิจวัตรที่ถูกต้อง ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ หรือ มีข้อสงสัยเกิดขึ้น