ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท เป็นศาสนาที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ที่มีการซึมซับทั้งการเรียนการรู้มากมายตั้งแต่เด็ก โดยที่คนไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 94 ของจำนวนประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ เพราะฉะนั้นการเข้าวัดธรรมบุญจึงเป็นเรื่องที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงพระประทาน หรือพระพุทธรูปก็เป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยการเคารพบูชา พระประจำวันเกิด ซึ่งเป็นปางที่มีลักษณะเฉพาะที่มีความพิเศษที่แตกต่างกันออกไป
วันอาทิตย์ : พระพุทธรูปปางถวายเนตร
สำหรับพระพุทธรูปปางถวายเนตร ที่เป็นพระปางประจำคนที่เกิดวันอาทิตย์ ที่เป็นที่กราบไหว้บูชาโดยเฉพาะของแต่ละวัน จะมีลักษณะที่เด่นชัดก็คือ พระพุทธรูปที่อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์
วันจันทร์ : พระพุทธรูปปางห้ามญาติหรือปางห้ามสมุทร
สำหรับพระพุทธรูปปางห้ามญาติหรือปางห้ามสมุทร เป็นพระปางประจำคนที่เกิดวันจันทร์ ที่เป็นที่กราบไหว้บูชาโดยเฉพาะของแต่ละวัน จะมีลักษณะที่เด่นชัดก็คือ พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสอง ยกขึ้นเสมอพระอุระ(อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร ต่างกันตรงที่ปางห้ามญาติจะยกมือขวา ขึ้นห้ามเพียงมือเดียว ส่วนปางห้ามสมุทรจะยกมือทั้งสองขึ้นห้าม แต่ส่วนใหญ่มักจะนิยมสร้างเป็นปางห้ามญาติ
วันอังคาร : พระพุทธรูปปางไสยาสน์หรือปางปรินิพพาน
สำหรับพระพุทธรูปปางไสยาสน์หรือปางปรินิพพาน เป็นพระปางประจำคนที่เกิดวันอังคาร ที่เป็นที่กราบไหว้บูชาโดยเฉพาะของแต่ละวัน จะมีลักษณะที่เด่นชัดก็คือ พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้าง ซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียร และมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)
วันพุธ : พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร (พุธกลางวัน)
สำหรับพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เป็นพระปางประจำคนที่เกิดวันพุธกลางวัน ที่เป็นที่กราบไหว้บูชาโดยเฉพาะของแต่ละวัน จะมีลักษณะที่เด่นชัดคือ พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว
วันพุธ : พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ (พุธกลางคืน)
สำหรับพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ เป็นพระปางประจำคนที่เกิดวันพุธกลางคืน ที่เป็นที่กราบไหว้บูชาโดยเฉพาะของแต่ละวัน จะมีลักษณะที่เด่นชัดคือ พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) บนก้อนศิลา พระบาททั้งสองวางบนดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระขนุ (เข่า) พระหัตถ์ขวาวางหงาย นิยมสร้างช้างหมอบใช้งวงจับกระบอกน้ำ อีกด้านหนึ่งมีลิงถือรวงผึ้งถวาย
วันพฤหัส : พระพุทธรูปปางสมาธิหรือปางตรัสรู้
สำหรับพระพุทธรูปปางสมาธิหรือปางตรัสรู้ เป็นพระปางประจำคนที่เกิดวันพฤหัส ที่เป็นที่กราบไหว้บูชาโดยเฉพาะของแต่ละวัน จะมีลักษณะที่เด่นชัดคือ พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางหงายซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ (แข้ง) ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย
วันศุกร์ : พระพุทธรูปปางรำพึง
สำหรับพระพุทธรูปปางรำพึง เป็นพระปางประจำคนที่เกิดวันศุกร์ ที่เป็นที่กราบไหว้บูชาโดยเฉพาะของแต่ละวัน จะมีลักษณะที่เด่นชัดคือ พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานกัน ยกขึ้นประทับที่พระอุระ (อก) พระหัตถืขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
วันเสาร์ : พระพุทธรูปปางนาคปรก
สำหรับพระพุทธรูปปางนาคปรก เป็นพระปางประจำคนที่เกิดวันเสาร์ ที่เป็นที่กราบไหว้บูชาโดยเฉพาะของแต่ละวัน จะมีลักษณะที่เด่นชัดคือ พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวา ซ้อนทับพระหัตถ์ซ้ายเหมือนปางสมาธิ แต่มีพญานาคขนดร่างเป็นวงกลมเป็นพุทธบัลลังก์ และแผ่พังพานปกคลุมอยู่เหนือพระเศียร